094-916-1644, 094-661-9626 @york-institute

Blogs

(ตอน1) live สดกับน้องโบว์ เรียน + ฝึกงานตลอด 3 ปีที่เรียน BHMS ในสวิตเซอร์แลนด์

กลับมาอีกครั้งนะคะ live สดกับพี่กิ๊ก ASEAN Regional Manager, B.H.M.S. สถาบันการโรงแรมระดับโลกที่สวิตเซอร์แลนด์ คร้้งนี้พี่กิ๊กมากับนักเรียนที่น่ารักของ York Institute  “น้องโบว์” ศิษย์เก่าจาก B.H.M.S.   วันนี้น้องโบว์ จะมาเล่าถึงการเรียน และการฝึกงานตลอดระยะเวลาที่เรียนการโรงแรมในสวิตเซอร์แลนด์ค่ะ คลิกที่ภาพเพื่อฟังสัมภาษณ์ได้เลยค่ะ

 

 

York: ค่ะ สวัสดีค่ะ

น้องโบว์: ค่ะ สวัสดีค่ะ

York: ค่ะ ขอต้อนรับเข้าสู่ไลฟ์ของสถาบัน York นะคะ วันนี้ถ้าเกิดว่าใครสนใจที่เรียนต่อสวิสนะคะ หรือใครที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเรียนประเทศไหนดีอ่ะค่ะ วันนี้ห้ามพลาดเลยแนะนำว่าให้ฟังไลฟ์ของเราจนจบนะคะ ค่ะ แล้วก็วันนี้เนี่ยเรานอกจากที่เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเรียนต่อสวิสแล้วเนี่ย อย่างที่เราได้โพสต์ไว้เลยนะคะว่าวันนี้เรามีแขกเชิญพิเศษส่งตรงจากสวิสเลยค่ะ เขาจะมาแชร์ประสบการณ์ในการเรียนแล้วก็ฝึกงานที่ประเทศสวิสนะคะ ตลอด 3 ปีเลย แต่ก่อนอื่นนะคะต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะ พี่ชื่อพี่เกลนะคะเจ้าหน้าที่แนะแนวศึกษาต่างประเทศจากสถาบัน York ค่ะ แล้วก็ข้างๆนี้นะคะพี่กิ๊กค่ะ จะให้พี่กิ๊กแนะนำตัวดีกว่าค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S: ค่ะ ก็พบกันอีกแล้วนะคะพี่ชื่อพี่กิ๊กเนาะ ก็คือถ้าเกิดใครเคยดูผ่านไลฟ์ของยอร์คหรือที่อื่นเนี่ยก็อาจจะจดจำกันได้นะคะที่นะคะเป็น Regional Manager ผู้จัดการส่วนภูมิภาคของ B.H.M.S นะคะประจำภูมิภาคนี้ก็จะร่วมดูแลพวกเรานะคะทุกขั้นตอนเลยตั้งแต่ขอรับสมัครจนถึงท่านไปถึงโรงเรียนนะคะร่วมกับอ่าตัวแทนซึ่งวันนี้พี่มากับทางยอร์คนะคะ สถาบันยอร์คก็คือร่วมดูแลนักเรียนกับพี่เกลเช่นกันเนาะ ค่ะก็วันนี้พี่ไม่ได้เป็นแขกรับเชิญนะวันนี้พี่มาเป็นพิธีกรร่วมเนาะน้องเกลเนาะ ก็วันนี้เราจะมีแขกรับเชิญสุดพิเศษมากกว่าพี่เนาะ ค่ะ

York: ค่ะ เดี๋ยวให้แขกรับเชิญของเราแนะนำตัวก่อนเลยค่ะ น้องโบว์แนะนำตัวหน่อยค่ะ

น้องโบว์ : สวัสดีค่ะ ชื่อโบว์นะคะ เรียนอยู่หลักสูตร Bachelor  Hospitality ค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S: อันนี้น้องโบว์เรียนอยู่สาขาไหนลูก แล้วไปเรียนตั้งแต่ปี1เลยไหม

น้องโบว์ : เรียน hospitality ค่ะ เรียนตั้งแต่ปี1 ถึง ปี3 ก็ตั้งแต่ 2019 เลยค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S: อ๋อจ้ะ ทีนี่ตอนนี้เราก็เลือกสาขาเป็นสาขาของ Hotel and hospitality management เนาะ

น้องโบว์ : ใช่ค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S: เพราะว่า 1 ปี 2 เราก็ก็เรียนบริหารธุรกิจมาด้วยใช่ไหมจ้ะ

น้องโบว์ : ใช่ค่ะ

York: ทีนี้พี่ถามนิดนึงว่าแล้วทำไมน้องโบถึงเลือกมาเรียนต่อกับทาง B.H.M.S คะ

น้องโบว์: พอดีว่าก็คือข้อมูลที่รู้มาก็คือ B.H.M.S เนี่ยเป็นโรงเรียนที่มีการเรียน 6 เดือนแล้วก็การฝึกงาน 6 เดือนซึ่งมันเป็นอะไรที่น่าสนใจมากเพราะว่าบางทีก็อย่างปัญหาที่ไทยก็คืออย่างเช่น แบบไปฝึกงานจะไปทำงานก็แบบไม่มีประสบการทำงานเลยแต่เราเพิ่งจบอะไรอย่างเงี้ย ก็เลยแบบมันจะดีกว่าไหมถ้าเกิดว่าเราสามารถที่จะแบบไปลองงานเวลาเราไปส่งงานที่จะสมัครงานเราก็บอกได้เลยว่าเรางานนี้ งานนี้ งานนี้มาแล้วด้วยความที่ว่าทางโบว์เนี่ยเลือกเลือกเรียน 3 ปี มันก็จะกลายเป็นว่าเราก็สามารถฝึกงานได้แตกต่างกันถึง 3 งานภายในระยะเวลาที่เราเรียนอยู่อ่ะค่ะ

York: ที่นี้อยากให้โบว์ลองเล่าคร่าวๆ นะคะเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน แล้วก็การที่เก็บคะแนนเวลาที่เราเรียนอยู่ที่ B.H.M.S ค่ะ

น้องโบว์: ค่ะก็ส่วนใหญ่ก็ตั้งแต่ปี 1 ถึงปี 2 ก็จะแบ่งเป็น 2-3 ตัวก็คืออย่างเช่น ส่วนใหญ่อ่ะค่ะ จะเป็นแบบ attendance10% ก็คือการ participate ใน Class อ่ะค่ะ ว่าเราเข้าคลาสไหมอะไรยังไงไหมแล้วก็โดยปกติพื้นฐานก็คือจะมีการสอบประมาณ 60% ค่ะ แล้วก็งาน 40% ก็มีทั้ง Report กลุ่ม แล้วก็มีทั้งโปรเจคแบบพรีเซ้นท์  PowerPoint หรือว่างานเดี่ยว หรือว่าก็คือแล้วก็สอบก็จะเป็นทั้งข้อเขียนและข้อกาค่ะ

York: งั้นพี่ถามเพิ่มนิดนึงแล้วกันพอดีว่าแบบเคยมีน้อง ๆ เค้าสนใจเค้าถามมาค่ะว่าอ่าถ้าเกิดว่าคนที่เรียนไม่เก่งอะไรอย่างเงี้ย กลัวแบบในเรื่องของคณิตศาสตร์ เลข อะไรอย่างเงี้ย เค้าแบบถ้าเรียนแล้วมันมีคณิตศาสตร์เยอะไหม หรือว่าแบบถ้าเรียนไม่เก่งคือแบบมาเรียนที่นี่คือไหวไหม อาจต้องให้โบว์แนะนำหน่อย

น้องโบว์: ได้ค่ะ ก็คือส่วนตัวของหนูเองหนูอยู่ที่ไทยเนี่ยหนูเรียนโรงเรียนรัฐบาลก็ได้เกรดไม่เคยแตะ 3 เหมือนกันค่ะ แต่ก็คือก็ภูมิใจอยู่ที่ว่าแบบถึงปี 3 แล้วเรียนจบแล้วฝึกงานอยู่ อะไรเงี้ยแต่ถามว่าเลขเยอะไหม เอ่อก็จะมีแค่ปีละแค่ตัวเดียวนะคะแบบว่าปี 1 ตัวหนึ่ง ปี 2 ตัวหนึ่ง แล้วก็ปี 3 แต่ว่าถ้าปี 3 เนี่ย ได้ยินจากเพื่อนมาว่าถ้าปี 3 เรียน global อ่ะค่ะ ไม่มีคำนวณค่ะ แต่ว่านี่ดันลงฮอสก็เลยมีไฟแนนซ์อยู่ แต่ว่าถามว่ายากไหมมันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นค่ะ เพราะว่าส่วนใหญ่ที่มันเรียนมันไม่ใช่ไปบวกลบคูณหารหรืออะไรอ่ะค่ะ มันเป็นเกี่ยวกับว่าแบบถ้าเรามีธุรกิจอย่างเงี้ย เราจะต้องแบบใช้ยังไงแบบหาเงินยังไงหรือเราต้องแบบจัดการการเงินของบริษัทยังไง ซึ่งมันสามารถต่อยอดแล้วมันสามารถใช้ได้จริงมากกว่าแบบมานั่งทำสูตรคูณหรือทำแบบสูตรแคลคูลัสอะไรฟีลเนี้ยค่ะ ดังนั้นไม่ต้องกลัวเลยถ้าเราเข้าใจว่าแบบ ถ้าเรามีธุรกิจนึงเราจะทำเงินยังไงมันจะได้กำไรไหมอะไรอย่าเงี้ยมันก็แค่นี้เลยอ่ะค่ะ

York: เหมือนมันแบบก็คือเป็นไม่ใช่มันนั่งแบบเรียนเป็นสูตรถูกไหม

น้องโบว์: ไม่ค่ะ

York:  คือแบบไม่นั่งใช่มานั่งแบบแบบเออเรียนเป็นสูตร เอ่อพวกแบบเอ่อที่แบบที่เราเรียนในในคณิตศาสตร์ยาก ๆ อะไรอย่างเงี้ยค่ะ

น้องโบว์: ไม่มีค่ะ ก็สูตรก็ประมาณ Demand  Supply ว่าเราแบบใช้จ่ายเท่าไหร่เรารับเท่าไหร่ได้กำไรสุทธิเท่าไหร่หรือว่าหักไปแล้วได้เท่าไหร่กี่เปอร์เซ็นต์คุ้มค่าในการเปิดธุรกิจต่อมั้ยมีแบบว่าแนวโน้มที่จะล้มละลายมั้ยอะไรมันประมาณเนี้ย ค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S: เหมือนการเรียนก็ตรงประเด็นจริงๆแล้วก็ไปใช้จริง ๆในงานของการบริหารธุรกิจแล้วก็บริหารอุตสาหกรรม hospitality เนาะ อ่าแล้วพี่ขอถามเรื่องขนาดคลาสเพราะว่าหลายคนเนาะก็เสียเงินมาเรียนถึงสวิสเนี่ยเค้าก็อาจจะกังวลว่าในคลาสเนี่ยอาจารย์ดูแลทั่วถึงมั้ย เราเรียนเยอะมั้ย แบบอ่าอย่างเช่นสไตล์บางประเทศหรือประเทศไทยเนาะ บางคลาสเนี่ยก็คนเยอะมาก เราก็จะได้แค่นั่งฟังอาจารย์อย่างเงี้ย เค้าก็เลยอยากให้น้องโบว์เล่าว่าที่สวิสกับ B.H.M.S เนี่ย ลักษณะขนาดคลาสแล้วก็การเรียนการสอนจากอาจารย์เนี่ยเป็นยังไงบ้าง

น้องโบว์: ก็คือโดยปกติคือจะประมาณ 30 คนค่ะไม่เกิน 30 คนหรืออาจจะถ้าเกิดว่าบางปีที่เอ่อคนค่อนข้างเยอะแต่ไม่ได้เยอะมากก็อาจจะมี 10 – 35 คนแต่ว่าไม่เคยเกิน 10 ค่ะ อย่างเช่นช่วงที่ผ่านมาช่วงปีก่อน ๆ ที่ผ่านมาตอนหนูเรียนปี 2 เนี่ยก็คือห้องนึงประมาณ 10 คนเองค่ะ แบบว่ามันแบบไปเจอบ้างเพราะว่าเขาก็ต้องแบบ make distance หรือว่าถ้าคนมันเยอะเกินไปจริงๆเขาก็จะ separate เป็นว่าเป็น  2 ห้องอ่ะค่ะ แบบห้อง A กับห้อง B อะไรอย่าเงี้ยค่ะเวลาก็จะแตกต่างกัน เพราะว่าเอ่อถ้าเกิดคนมันเยอะมันก็คงไม่ทั่วถึงเพราะว่าครูเขาก็ถามเลยว่าเข้าใจมไม่เข้าใจอะไรก็บอกหรือแบบเวลาทำงานกลุ่มอ่ะค่ะถ้าคนเยอะเกินไปมันก็ค่อนข้างลำบากที่จะแบบว่าทำงานพูดคุยกันอะไรอย่างเงี้ยค่ะ

 

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  ก็คือขนาดคลาสก็เป็นขณะที่อาจารย์ดูแลทั่วถึงเนาะ ก็คือเน้นการปฏิสัมพันธ์กันแล้วถ้าเกิดช่วงไหนเนี่ยคนเยอะเราก็จะแยกคลาสเหมือนที่น้องโบว์บอกเลย ก็คือเราจะพยายามรักษาจำนวนขั้นสูงสุดต่อคลาสเนี่ยไม่ให้เกิน 30 คน แต่ว่าบางคลาสที่คลาสชั้นสูงหรือคลาสพิเศษเนี่ยโดยเฉพาะปี 3 ทีน้องโบว์เรียนเนี่ย คลาสก็จะเล็กลงเนาะ เพราะว่าต้องเพิ่มการปฏิสัมพันธ์หรือว่าความเข้มข้นในการเรียนเนาะ พี่เกลมีอะไรถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนไหมจ้ะ

York:  ก็โอเค อันนี้คือเคลียร์ประเด็นนี้ เพราะว่าจริงๆเด็ก ๆ ส่วนมากจะกังวลเกี่ยวกับคณิตศาสตร์จริง ๆคือแบบทุกคนจะแบบอุ้ย แล้วมาเรียนบริหารแล้วแบบคณิตศาสตร์มันจะเยอะมั้ย มันจะยากไปไหมอย่างเงี้ยเนาะ ก็สรุปแล้วคือก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  เพราะว่าเจอนักเรียนส่งคำถามมาใน inbox ด้วยว่าเอ๊ะ การเรียนเนี่ยการเรียนกับเราเนี่ยจะเน้นแบบว่าเรียนแล้วอ่านหนังสือไปสอบหรือเปล่า เพราะว่าแน่นอนบางประเทศเนาะก็จะเรียนสไตล์เน้นการ รีเสิร์ชก็คือเรียนอ่านหนังสือทำ assignment ส่งแล้วก็ไปอ่านหนังสือเยอะๆไปสอบ แต่วันนี้นักเรียน น้อง ๆ คงเคลียร์กันแล้วเนาะ ที่น้องโบว์เล่าให้ฟังว่าที่ B.H.M.S เนี่ย เราเป็นการเรียนที่เน้นปฏิบัตินะคะควบคู่ ดังนั้นแล้วเนี่ยการเก็บคะแนนเนี่ยก็จะมีหลายส่วนนะคะที่จะเอามาบาลานซ์กันเราไม่จำเป็นเราไม่ต้องกังวลว่าอุ๊ย จะต้องอ่านหนังสือแล้วก็สอบทีเดียวนะคะอย่างที่น้องโบว์บอกแล้วเนาะเรามีทั้งการส่งงานเนาะน้องโบว์เนาะมีทั้งการเข้าคลาสเนาะ แสดงความมีวินัยแล้วก็เข้าคลาสก็ได้คะแนน มีการทำงานส่ง แล้วก็มีโปรเจคกลุ่มนะคะ แล้วก็มีการสอบแต่การสอบเนี่ยก็ไม่ใช่ว่าเป็นส่วนใหญ่เนาะการสอบก็จะมีทั้งเป็นแบบอ่าเค้าเรียกอะไรภาษาภาษาโบราณก็อัตนัยปรนัยนะคะก็คือแบบเขียนแล้วก็แบบกาช้อยส์เนาะค่ะ

น้องโบว์:  ค่ะก็ก็อย่างของหนูก็คือแบบว่าเอาจริงๆนะคะปี 3 หนูเรียน hospitality เนี่ยมีสอบอยู่แค่ 2 ตัวค่ะ ทั้งปีเลย 2 ตัว ก็คือไม่มีแล้วที่เหลือก็คือเป็นงานกลุ่มงานอะไรซึ่งก็คือเลือกอันนี้เพราะว่ามันไม่มีสอบเยอะเนี่ยแหละค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  ใช่เพราะว่าน้องโบว์ตอบถูกต้องแล้วเกลเพราะว่าอย่างบางทีเราเจอนักเรียนที่มาสายว่าหนอนหนังสืออ่ะขอใช่คำนี้คือสายชอบเรียนแบบว่าชอบเรียนๆอย่างเงี้ย แล้วพี่เกลก็จะแนะนำไปประเทศอื่นเนาะเพราะว่าแต่ถ้าเกิดใครเป็นสายแบบเราเนี่ยสายแบบชอบทำงานชอบปฏิบัติหรือว่าชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเงี้ยก็มามาทางนี้ได้

York:  อ้อ แล้วก็มีอันนึง คืออันเนี่ยเป็นประเด็นสำคัญเหมือนกันที่แบบทุกคนจะกังวลมากเรื่องของภาษาคือว่าโอเคไปเรียนที่นี่เนี่ยก็ต้องเรียนภาษาเยอรมันด้วยอ่าต้องถามโบว์ก่อนว่าเป็นยังไงบ้างคือก่อนหน้าเนี้ยคือโบว์เคยเรียนภาษาเยอรมันจากไทยมาบ้างมั้ยคะ หรือไม่เคยเลย

น้องโบว์: ไม่เคยเลยค่ะ

York:  เริ่มที่นี่หมดเลยใช่มะ

น้องโบว์: ใช่ค่ะ

York:  ยากไหม

น้องโบว์: มันถามว่ามันยากมคือเราก็คือ ณ ถึงจุด ๆนี้ หนูก็คือเข้าใจได้แต่ก็คือยังคงพูดไม่ได้เหมือนกันแต่ก็คือเอ่อแต่ทางโรงเรียนน่ะค่ะ เค้าบังคับอยู่แล้วว่าต้องเรียนไม่ว่าจะคุณจะเข้ามาตอนปี 1 ปี 2 หรือปี 3 คุณต้องมีเอ่อคุณต้องเรียนอย่างน้อยแบบ A1-A4 ค่ะ  A1.1 – A 1.4 ค่ะ ส่วนอย่างเช่นถ้าหนูในเคสหนูเนี่ย หนูมาตั้งแต่ปี 1 ปี 1 หนูก็เรียน 1.1-1.4 ทีนี้พอปี 2 เนี่ยเขาก็จะให้เลือกค่ะแบบว่าถ้าคุณเพราะว่าหลังจากฝึกงานแล้วเนี่ย เนื่องจากว่าการเรียนภาษาอันเนี้ยมันจะเป็นเกี่ยวกับหนึ่งในพาร์ทของการที่เราจะได้ฝึกงานในพาร์ทไหนเพราะว่าก็อย่างที่รู้ว่าสวิตเซอร์แลนด์ก็คือคือติดอิตาลีฝรั่งเศสแล้วก็เยอรมันใช่มั้ยคะ ก็คือถ้าเกิดว่าเราได้ภาษาเยอรมันเนี่ยเราไปลองทำแล้วเราแบบเรายังอยากได้ภาษาอื่นเพิ่มปี 2 เขาก็จะให้เลือกเขาว่าแบบเอ่อจะเรียนฝรั่งเศสมั้ยเรียนอิตาลีมั้ยรวมถึงมีสเปนให้ด้วยแล้วก็มีจีนค่ะ ก็คือถามว่าเลือกได้เลยว่าถ้าคุณอยากลองไปแบบเจเนวาคุณก็เรียนภาษาฝรั่งเศสไปเลยคุณก็จะแบบเอ่อไปทำแบบเขาก็จะส่งไปแถวนั้นเพราะว่าเราพูดภาษาฝั่งพื้นฐานฝั่งนั้นเขาได้อะไรอย่างเงี้ยค่ะ แต่ว่าปี 3 ก็เหมือนกันก็คือคือก็มีให้เลือกแต่ว่าเอ่อแค่ 2 ตัวนะคะ ปี 2 กับปี 3 อย่างละ 2 ตัวอย่างเช่นเอ่อถ้าเยอรมันก็ a2.1 กับ a  2.2 ดังนั้นมันไม่ได้แบบเอ่อกดดันเกินไปอ่ะค่ะสามารถแบบว่าเลือกแค่ 2 ตัวหรือว่าอาจจะเลือกแบบเยอรมัน 1  a2.1 แล้วก็ไปฝรั่งเศสเลยก็ได้แล้วแต่ว่าเราสนใจอะไรเราไม่จำเป็นต้องแบบโอเราต้องฝรั่งเศสเราต้องแบบฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสนะเราไม่ต้องแบบเยอรมัน เยอรมัน เยอรมันนะเราแบบสนใจภาษาไหนเราสามารถเปลี่ยนคลาสได้ตลอดค่ะ แบบสามารถบอกครูเค้าได้เลยว่าเราเรียนแล้วเนี่ยวีคแรกเราไม่เอาไม่ชอบแบบไม่เข้าใจเลยแบบมันยากเกินไป เราก็บอกเขาได้เลยว่าเราขอเปลี่ยนวีคถัดไปขอเปลี่ยนเป็นคลาสอื่นได้ไหมค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  ค่าภาษาต่าง ๆ เหล่าเนี่ยที่น้องโบวเล่าให้ฟังเนี่ยคือฟรีนะ ไม่ได้เสียเงินเพิ่มนะคะ ก็เมื่อกี้น้องโบว์ตอบได้ดีเลยว่าน้องโบว์ไม่รู้ภาษาเยอรมันก่อนไปเลยแล้วก็ไปเลยแล้วก็ไปเรียนถึงตอนเนี้ยเรียนแล้วก็แน่นอนเราก็ยังไม่สามารถแบบสื่อสารได้เหมือนเจ้าของภาษาอยู่แล้วเนาะ ก็ทีเนี้ยก็อยากจะถามต่อว่าเรามีเป็นอุปสรรคในการเรียนหรือว่าในการใช้ชีวิตหรือว่าในการฝึกงานมั้ย เพราะหลายคนก็จะถามว่าไม่รู้ภาษาเยอรมันไม่รู้ภาษาฝรั่งเศสแต่มาอยู่ที่สวิสเนี่ยจะทำงานกับเรู้เรื่องมั้ยอะไรอย่างเงี้ยค่ะ

น้องโบว์: อ๋อก็ถามว่าคืออย่างเช่นตอนนี้ค่ะหนูทำมาริออทใช่มั้ยคะ ก็คือเยอรมันเนี่ยแทบจะไม่จำเป็นเลยค่ะ ก็คือเพราะว่ามาริออทเนี่ยมันเป็นเครืออเมริกา เค้าจะใส่ภาษาอังกฤษสื่อสารเป็นหลักอ่ะค่ะ แล้วก็ปี 2 หนูทำเป็นร้านอาหาร ก็ร้านอาหารก็เป็นแบบ คนที่เค้ามากินเค้าเห็นหน้าเราเอเชียเค้าก็คง เค้าก็เข้าใจว่าเราก็คงไม่สามารถพูดแบบ ฟึบฟับๆๆ แต่ว่าเนื่องจากว่าตอนปี 1 ทำงานที่คลินิกเนี้ย ส่วนใหญ่เค้าชอบเป็น คือคนที่หนูทำงานด้วยเนี่ยเค้าไม่คุยอังกฤษกันอ่ะค่ะ ส่วนใหญ่เค้าจะคุยเยอรมันกัน อังกฤษได้บางคน ดังนั้นมันเลยทำให้เราแบบมีแบบฟังได้ ฟังรู้ ว่าเอ๊ะ เค้ากำลังสื่อสารอะไรเป็นคีเวิร์ดอะค่ะ แบบคำนี้เค้าหมายถึงอะไรนะ คำนี้แบบร้อนเค้าหมายถึงร้อนนะ แบบมิ้ลค์ แบบนมร้อน เข้าใจได้ว่าต้องทำนมร้อนหรืออะไรฟีลเนี้ยค่ะ แบบคือก็เพราะว่าอย่างที่บอกว่าในสังคมโรงเรียนก็คือมันอังกฤษหมดเลย แล้วแบบเราก็เราออกไปข้างนอกเราก็แบบฟังเขา เพราะว่าแบบอย่างที่รู้ว่าสวิสเนี้ยมันมีแบบเยอรมันแบบหลายสำเนียงมาก คือเราก็แบบสวิส เยอรมันเอย เยอรมันเอย แบบอะไรอย่างเงี้ยค่ะ มันก็ทำให้เรายากที่จะแบบ แต่ว่าการทำงานเนี้ยมันก็คือไม่ได้จำเป็นขนาดนั้นเท่าไหร่ แต่ถ้ามันมีก็จะเป็นแบบผลประโยชน์แบบเราก็จะได้จุดแข็งอะไรฟีลเนี้ยค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  คือคนสวิสเค้าก็สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเนาะ

น้องโบว์: ได้ดีค่ะ เพราะว่าหนูก็ไปได้ยินเพื่อนมาว่าเพื่อนหนูที่ทำงานเขาบอกว่าอ่า ตั้งแต่เกรดตั้งแต่ประมาณ 4-5 ขวบมั้งคะ หลังจากที่เขาเพราะว่าคนสวิสเนี่ยเค้าเอ่อเรียนเค้าใช้ภาษาเค้าต้องเรียนภาษาเยอรมันในในโรงเรียนนะคะเค้าไม่ แต่ว่าเวลาภาษาพูดเค้าเนี่ยเค้าพูดสวิสเยอรมัน แล้วทีเนี้ยตั้งแต่เขาประมาณ 4-5 ขวบอ่ะค่ะ พอเค้าเรียนภาษาเยอรมันเสร็จปุ๊บ เค้าเข้าไปเรียนภาษาอังกฤษก่อนที่เขาจะแบบในแบบประถมเขาจะไปเรียนภาษาอื่นอ่ะค่ะ เค้าต้องภาษาอังกฤษก่อนเลยภายในแบบ 4-5 ขวบอ่ะค่ะเขาต้องเรียนรู้แล้วพูดให้ได้อ่ะค่ะ

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  ทีนี้ก็เคลียร์เลยเผื่อน้อง ๆที่กังวลอยู่เนาะว่าเอ้ย สวิสภาษาอังกฤษไม่ใช่เจ้าของภาษาแน่นอนแต่เค้าสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเนาะ เมื่อกี้น้องโบว์พูดถึงการฝึกงาน อย่างงั้นเดี๋ยวให้น้องโบว์ช่วยเล่าแล้วกันตั้งแต่ เรามาขุดลึกเจาะลึกกันตั้งแต่ปีแรกเลยว่าน้องโบว์ฝึกงานที่ไหนมาบ้าง แล้วก็ทำอะไร แล้วก็ได้เรียนรู้อะไรมาบ้างนะจ้ะ

น้องโบว์: ก็คือเริ่มตั้งแต่ปี 1 ก็คือหนูทำงานที่คลินิกนะคะ เป็น Klinik Schloss Mammern อยู่บอร์ดเดอร์ เป็นพรมแดนเยอรมันกับสวิสอะค่ะ ซึ่งเป็นคลินิก 5 ดาว เป็น private คลินิก

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  พี่ขอคั่นก่อนค่ะ คลินิกอันนี้เดี๋ยวภาษา เดี๋ยวน้อง ๆ คนไทยหรือว่าต่างชาติเขาจะสับสนก็คืออย่างที่สวิสเนี่ยมันคลีนิคก็คือเป็นภาษาเยอรมัน ที่จริงถ้าเกิดของเราเนี้ยก็คือ Wellness  Center

น้องโบว์: เป็นฟืลกายภาพบำบัดอ่ะค่ะสำหรับคนที่สูงอายุ

พี่กิ๊ก B.H.M.S:  ใช่ไม่ใช่แบบนี่คลินิกที่แบบรักษาคนนะคะ อันนี้เข้าใจภาพตรงกันนะคะว่าเป็น wellness  Center แบบหรู อ่ะน้องโบว์ต่อค่ะ

น้องโบว์: ใชค่ะเป็นฟีลแบบว่าคลีนิคกายภาพบำบัดที่มีห้องพักให้สำหรับคนที่ทำกายภาพบำบัดเลยรวมทั้งมีร้านอาหารภายในอ่ะค่ะ แบบคนมาเยี่ยมก็มากินอาหารอะไรฟีลเนี้ยค่ะ ซึ่งเราก็คืออยู่ในพาร์ทนั้น ซึ่งก็คือประสบการณ์ก็คือเนื่องจากว่างานที่เราตอนปี 1 หนูไปเนี่ยหนูไม่มีประสบการณ์ทำงานเลยแล้วก็ตอนนั้นเป็น Pandemic โควิด อ่ะค่ะ ซึ่งคือแบบมันก็แทบจะไม่ไม่ค่อยมีงานให้เลือกทำเลยก็แบบเราแต่ว่าเราได้อันนี้ก็แบบเพราะมันก็คือแบบเป็นสถานพยาบาลมีความเป็นสถานพยาบาลเล็กน้อยมันก็จะแบบรู้สึกปลอดภัยกว่า แล้วก็พอเราไปเนี้ยก็คือสิ่งที่ได้เรียนรู้เนี่ยคือต่อให้งานของหนูอ่ะมันจะเป็นพาร์ทเล็ก ๆ แต่มันดันเป็นพาร์ทก่อนที่คนอื่นเขาจะสามารถทำงานได้อ่ะค่ะ เหมือนแบบอย่างเช่นหนู หนูไม่ได้ไปทำเซอร์วิสเลยในปีแรกหนูทำเป็น support service อ่ะค่ะก็อย่างเช่น ตอนเช้าเนี่ยเราตื่นเช้ามาเลยแล้วเราก็มาดูว่าแต่ละห้องเนี้ยที่เขาจะเอาไปเสิร์ฟห้องที่เค้าดูกันให้มันแบบที่คนสูงอายุอ่ะ ค่ะที่แบบบางคนติดเตียงเลยอะไรอย่าเงี้ย แบบมีอ่าเค้า allergic อะไรบ้างแล้วก็มีใช้อะไรบ้าง coffee ไหม นมไหม มีชากาแฟมีอะไรมั้ย ซึ่งคือเราต้องเตรียมตรงนั้นน่ะค่ะซึ่งคือแบบถ้าเราไม่เตรียมหรือเรามาสายหรือเราไม่ได้มาทำงานเนี้ยเซอร์วิสเขาก็ไม่สามารถเอาไปเสิร์ฟได้ เพราะว่ามันคนละพาร์ทกับเค้าอ่ะค่ะ ดังนั้นมันเลยสอนให้รู้ว่าแบบต่อให้เราทำงานเล็ก ๆ หรือแบบมันแทบจะแบบอะไรแบบไม่มีอะไรเลยแต่มันสำคัญสำหรับคนสำหรับขั้นต่อ ๆ ไปรวมทั้งแบบอุ่นอาหารอ่ะค่ะใคร ๆ ก็คิดว่าอุ่นอาหารมันก็อุ่นอาหารน่ะแต่ว่าถ้าเราไม่อุ่นอาหารให้เซอร์วิสเค้าไปเสิร์ฟอาหารเย็น ๆชืด ๆมันก็ไม่ได้ ถูกมั้ยคะ  ก็ประมาณนั้นก็เลยแบบเรียนรู้มาว่าแบบมันก็ไม่ได้แบบต่อให้งานมันเล็กแต่มันก็สำคัญ 

อ่านบทสัมภาษณ์ตอน 2 ต่อได้ที่ link ด้านล่างนี้เลยนะคะ

(ตอน2) live สดกับน้องโบว์ เรียน + ฝึกงานตลอด 3 ปีที่เรียน BHMS ในสวิตเซอร์แลนด์

 

 

 

เรียนต่ออังกฤษ

เรียนภาษาที่อังกฤษ

เรียน High school ที่อังกฤษ

เรียน Certificate ที่ออสเตรเลีย

เรียนต่ออเมริกา

เรียนภาษาที่อเมริกา

เรียนปริญญาตรีที่อังกฤษ

เรียน Diploma ที่ออสเตรเลีย

เรียนต่อออสเตรเลีย

เรียนภาษาที่ออสเตรเลีย

เรียนปริญญาโทที่อังกฤษ

เรียนปริญญาตรีที่ออสเตรเลีย

เรียนต่อนิวซีแลนด์

เรียนภาษาที่นิวซีแลนด์

เรียน High school ที่อเมริกา

เรียนปริญญาโทที่ออสเตรเลีย

เรียนต่อแคนาดา

เรียนภาษาที่แคนาดา

เรียนปริญญาตรีที่อเมริกา

เรียนแฟชั่นที่ Marangoni

เรียนต่อสวิตเซอร์แลนด์

เรียนการโรงแรมที่สวิตเซอร์แลนด์

เรียนปริญญาโทที่อเมริกา

เรียนทำอาหารที่ Le Cordon Bleu

York Institute 283/39, 41 Home Place Building, 8th Fl., Sukhumvit 55 (Thonglor 13), Bangkok 10110 THAILAND Tel: (66) 94-916-1644, (66) 94-661-9626 Email: info@york-institute.com Copyright © 2022 All Rights Reserved.